line
เลือกทานไส้กรอกอย่างไร

Written by admin

Feb 13, 2022

13/02/2022

การบริโภคไส้กรอก หากมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ร่างกายได้รับสารไนไตรต์ ในปริมาณสูงเกินกว่าค่าปลอดภัย นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลว่า ไส้กรอกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นโปรตีน ไขมัน และน้ำ แต่ยังมีส่วนประกอบของสารอื่นในไส้กรอกอีก เพื่อให้มีสีสันน่ารับประทาน ป้องกันการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ และยืดอายุการเก็บรักษา ได้แก่ 1.วัตถุเจือปนอาหาร ถ้าบริโภคต่อครั้งปริมาณมาก ก็อาจจะทำให้ได้รับสารไนไตรต์ในปริมาณสูงเกินกว่าค่าปลอดภัยที่กำหนดไว้ คือ วัยรุ่น 9-18 ปี ไม่ควรเกิน 3.1 มิลลิกรัม (มก.) ผู้ใหญ่ ตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ไม่ควรเกิน 3.8 มก. ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ 2.ไขมัน น้ำมันช่วยให้ไส้กรอกมีลักษณะนุ่ม ชุ่มฉ่ำ มีเนื้อสัมผัสและรสชาติดี โดยจัดเป็นอาหารที่มีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูง หากทอด 1 ชิ้น เทียบเท่ากับน้ำมัน 3 ช้อนชา และถ้ากินเป็นปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อโรคอ้วน ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็น สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมาได้ 3.เกลือ หรือโซเดียม […]

การบริโภคไส้กรอก หากมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ร่างกายได้รับสารไนไตรต์ ในปริมาณสูงเกินกว่าค่าปลอดภัย

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลว่า ไส้กรอกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นโปรตีน ไขมัน และน้ำ แต่ยังมีส่วนประกอบของสารอื่นในไส้กรอกอีก เพื่อให้มีสีสันน่ารับประทาน ป้องกันการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ และยืดอายุการเก็บรักษา ได้แก่

1.วัตถุเจือปนอาหาร ถ้าบริโภคต่อครั้งปริมาณมาก ก็อาจจะทำให้ได้รับสารไนไตรต์ในปริมาณสูงเกินกว่าค่าปลอดภัยที่กำหนดไว้ คือ วัยรุ่น 9-18 ปี ไม่ควรเกิน 3.1 มิลลิกรัม (มก.) ผู้ใหญ่ ตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ไม่ควรเกิน 3.8 มก. ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

2.ไขมัน น้ำมันช่วยให้ไส้กรอกมีลักษณะนุ่ม ชุ่มฉ่ำ มีเนื้อสัมผัสและรสชาติดี โดยจัดเป็นอาหารที่มีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูง หากทอด 1 ชิ้น เทียบเท่ากับน้ำมัน 3 ช้อนชา และถ้ากินเป็นปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อโรคอ้วน ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็น สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมาได้

3.เกลือ หรือโซเดียม ปริมาณเกลือที่เติมแล้วแต่ชนิดของไส้กรอก โดยส่วนใหญ่ ไส้กรอกหมู 1 ชิ้น มีโซเดียม 300-400 มก. เทียบเท่ากับเกลือประมาณ 1/5 ช้อนชา ตามปกติแล้วร่างกายจะได้รับโซเดียมที่มีอยู่ตามธรรมชาติของอาหารชนิดนั้นๆ ด้วย ซึ่งใน 1 วัน ไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มก. หรือเทียบเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4 ช้อนชา เพราะการบริโภคโซเดียมมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไตเรื้อรังได้

การเลือกซื้อไส้กรอกควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสีชมพู หรือแดงเข้ม จนเกินไป ควรมีรายละเอียดต่างๆ ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ โดยจะต้องระบุสถานที่ ผลิต วันผลิต วันหมดอายุอย่างชัดเจน ควรมีเครื่องหมายรับรองต่างๆ เช่น อย. มอก. เป็นต้น และหากพบว่ามีการใส่วัตถุกันเสีย ก็ไม่ควรบริโภคอาหารนั้นเป็นประจำ ทั้งนี้ ควรกินในปริมาณที่พอประมาณ ไม่มาก หรือบ่อยเกินไป แม้ว่าร่างกายของมนุษย์มีกลไกการกำจัดสารพิษ หรือของเสียออกจาก ร่างกายได้ แต่หากมีการบริโภคอาหารประเภทเดียวกันซ้ำๆ เป็นเวลานาน ร่างกายก็อาจจะมีการสะสมพิษ หรือของเสียดังกล่าวเอาไว้ วิธีที่จะช่วยให้การสะสมสารพิษ หรือของเสียลดลง คือ กินให้หลากหลาย จะช่วยให้ร่างกาย มีเวลากำจัดสารเหล่านั้นออกไปจากร่างกายได้ รวมทั้งควรเลี่ยงการกินไส้กรอกแบบทอดน้ำมันในอุณหภูมิสูง หรือย่างแบบไหม้เกรียม เพราะอาจก่อให้เกิดสารไนโตรซามีนที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้

และเพื่อให้ดีต่อสุขภาพ หากกินไส้กรอก ควรกินควบคู่กับผักผลไม้ ที่มีเกลือแร่และวิตามินซีสูง เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลี ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศสีดา บร็อกโคลี ดอกกะหล่ำ ฝรั่ง ส้ม มะละกอ มะขามป้อม พุทรา สับปะรด รวมถึงอาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น นม ไข่ ธัญพืช ถั่วลิสง ผักโขม น้ำมันพืช เพื่อให้ได้ประโยชน์จากสารต้านอนุมูลอิสระด้วย ช่วยต่อต้านมะเร็งได้

cr. สสส.

ฟรี > ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ คุณดรณ์ กดเป็นเพื่อนกัน 👇🏻 (พร้อมโทรฟรี) https://page.line.me/arokagel

สั่งซื้อเจลพลัสด้วยวิธีง่ายๆ

ติดต่อ คุณดรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสารอาหารบำบัดแบบเจล มากว่า 10 ปี

Line ID: @umigout
(ใส่ "@" ด้วยเสมอ)
กดเพิ่มเพื่อน > กดเพิ่มเพื่อน อูมิเก๊าท์

อูมิ UMI ลดกรดยูริค เก๊าท์ เบาหวาน ต้านเนื้อร้าย ลดอักเสบ เพิ่มภุมิคุ้มกัน
กรีน GRN ล้างพิษ ดีท๊อกซ์ ลดกรดยูริค ช่วยระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย

Related Articles

5 ค่าฮีมาโตคริต

https://youtube.com/shorts/cUZlpVaUgDI 5 ค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit) - 7 ค่าเลือดสำคัญผู้ป่วยไตต้องรู้ #ผลเลือด #ค่าไต #โรคไตเสื่อม #โรคไตเรื้อรัง #รักสุขภาพ #รักสุขภาพรักตัวเอง #ดูแลสุขภาพ #สาระน่ารู้ดูแลสุขภาพ #youngsiamtv #ยังสยาม #ยังสยามทีวี ศึกษาเพิ่มเติมคลิ๊ก...

3 ค่าครีเอตินิน

https://youtu.be/cRSxG_84QBU 3 ค่าครีเอตินิน (CR - Creatinine) 7 ค่าเลือดสำคัญผู้ป่วยไตต้องรู้ #ผลเลือด #ค่าไต #โรคไตเสื่อม #โรคไตเรื้อรัง #รักสุขภาพ #รักสุขภาพรักตัวเอง #ดูแลสุขภาพ #สาระน่ารู้ดูแลสุขภาพ #youngsiamtv #ยังสยาม #ยังสยามทีวี 3.ค่า Creatinine บอกอะไรเรา...

3 ค่าครีเอตินิน

https://youtu.be/cRSxG_84QBU 3 ค่าครีเอตินิน (CR - Creatinine) 7 ค่าเลือดสำคัญผู้ป่วยไตต้องรู้ #ผลเลือด #ค่าไต #โรคไตเสื่อม #โรคไตเรื้อรัง #รักสุขภาพ #รักสุขภาพรักตัวเอง #ดูแลสุขภาพ #สาระน่ารู้ดูแลสุขภาพ #youngsiamtv #ยังสยาม #ยังสยามทีวี 3.ค่า Creatinine บอกอะไรเรา...

0 Comments

0 Comments

Submit a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *