“รสเค็ม” คนไทยส่วนใหญ่มักติดการรับประทานอาหารรสจัดโดยเฉพาะรสเค็ม แบบไม่รู้ตัว เพราะมีอาหารหลายประเภทที่มีความเค็มซ่อนอยู่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมหลักของการเกิดโรค ไตเรื้อรัง คนไทยประมาณ 17.6% ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง เฉลี่ยแล้วเพิ่มขึ้นประมาณ 7,800 คนต่อปี หรือประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรืออายุน้อยกว่า 60 ปี
โรคไตเรื้อรัง
เป็นอาการที่ไตทำงานลดลงหรือไตมีภาวะการทำงานผิดปกติ โดยดูจากค่าอัตรากรองของไตที่ผิดปกติในระยะมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่า 10% ส่งผลทำให้ของเสียคั่งในเลือด และส่งผลให้มีอาการต่าง ๆ ตามมา
อาการของไตเรื้อรัง
- ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
- ขาบวมและกดบุ๋ม
- ความดันโลหิตสูง
อาหารและเครื่องปรุงที่มีปริมาณโซเดียมสูง
- เครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำปลาร้า ผงหรือก้อนปรุงรส ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ผงชูรส
- อาหารมักดอง อาหารแปรรูป เช่น ผักกาดดอง มะนาวดอง หน่อไม้ดอง ผลไม้กระป๋อง ฝรั่งดอง ไข่เค็ม กะปิ หมูแฮม เบคอน เต้าเจี้ยว น้ำจิ้มไก่ น้ำพริก ขนมกรุบกรอบ สาหร่ายปรุงรส
- สารปรุงแต่งอาหารที่ไม่มีรสเค็ม เช่น ผงฟูที่ใช้ทำเบเกอรี่ แป้งที่ใช้ชุบเนื้อหรือผักทอด สารกันบูด สารกันเชื้อราในขนมปัง
- อาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปบรรจุแบบซองและถ้วย
คำแนะนำ
- ควรบริโภคโซเดียมให้น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/วัน
- บริโภคเกลือให้น้อยกว่า 5 กรัม/วัน
- บริโภคน้ำปลาน้อยกว่า 3 ช้อนชา/วัน
0 Comments