โรคเก๊าท์ฉบับย่อ
โรคเก๊าท์ มีสาเหตุมากจากการสะสมของกรดยูริคในร่างกายตามข้อมาก จนทำให้เกิดอาการอักเสบ กลายเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง กรดยูริคอาจตกตะกอนในไต หรือ ทางเดินปัสสาวะทำให้เป็นนิ่ว หรือ ไตวายเรื้อรังได้ กรรมพันธุ์ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเก๊าท์ด้วยเช่นกัน โรคเก๊าท์พบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
อาการ
- บริเวณข้อที่มีการสะสมของกรดยูริคมากเกินไปจะทำให้มีอาการปวด บวม แดง และร้อนบริเวณข้อนั้นๆ พบมากปริเวณหัวแม่เท้า ข้อเท้า ถ้าเป็นนาน ๆ จะลามไปยังข้ออื่น ๆ ได้
- อาการปวดจะเป็นแล้วหายแล้วเป็นอีก หรือเรื้อรัง
- ในรายที่เป็นแบบเรื้อรังมาเป็นเวลานาน จะตรวจพบนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะมีอาการปวดเอว ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ
- การเป็นโรคเก๊าท์มานาน ๆ จะมีปุ่มปม เกิดขึ้นบริเวณศอก บริเวณใกล้ข้อต่าง ๆ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นเก๊าท์
- ที่ทำได้ง่ายและไม่เนินนานคือการเจาะเลือดเพื่อหาระดับ “กรดยูริค” ในเลือด ถ้าสูงกว่าสูงสุดโดยเฉลี่ยที่ 7 มิลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เช่นตั้งแต่ 8 มิลิกรัมเป็นต้นไป จะถือว่ามีกรดยูริคในร่างกายสูงมากเกินไป ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่จะมีอาการอักเสบตามมาในอนาคตอันใกล้
- หากมีอาการปวดตามข้อและส่งสัย สามารถทำการเอ็กเรย์ข้อที่ปวด หากมีกรดยูริคสะสมอยู่จะปรากฎเป็นเงาขาว
- การเจาะน้ำไขข้อ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถตรวจหา ผลึกยูเรตคริสตัล ได้
การรักษาอาการโรคเก๊าท์
- กรณีในส่วนข้ออักเสบ แพทย์จะให้ยามารับประทาน เพื่อทำให้อาการปวดบวมของข้อหายไป
- แพทย์อาจใช้ยาบางชนิด เพื่อลดกรดยูริคในเลือด เป็นการป้องกันไม่ให้กรดยูริคตกตะกอน จะไม่เกิดข้ออักเสบอีก ซึ่งต้องใชเวลาในการรักษาหากอาการปวดข้อได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
ประเภทของยารักษา
- ยาระงับอาการข้ออักเสบ ซึ่งเมื่ออาการทางข้อหายแล้ว อาจหยุดรับประทานได้
- ยาลดกรดยูริคในเลือด ซึ่งจะต้องรับประทานไปตลอด เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ ความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันไม่ให้กรดยูริคไปตกตะกอนที่ข้อหรือไตได้อีก
- ยาป้องกันการอักเสบขอข้อร่วมได้วยกับยาลดกรดยูริค ในระยะเริ่มแรกของการรักษาหากไม่เกิดอาการอักเสบสักระยะหนึ่งแล้ว ก็หยุดยาป้องกันการอักเสบได้ คงให้แต่ยาลดกรดยูริคตลอดไป
สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
โรคนี้สามารถควบคุมให้เป็นปกติได้โดยการใช้ยา หรือในปัจจุบัน การแพทย์ทางเลือกที่ใช้วิธีการธรรมชาติบำบัด สารอาหารบำบัด ควบคู่ไปกับการดูแลควบคุมเรื่องอาหาร ก็สามารถรักษาให้หายได้ หรือป้องกันไม่ให้เป็นอีกได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวดข้อ และป้องกันการแทรกซ้อนของโรค แต่ในกรณีที่เป็นนิ่วร่วมด้วยอาจต้องใช้การผ่าตัดช่วยด้วย
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์
- รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ซึ่งจะรับประทานติดต่อกันเป็นปี จนกว่าไม่มีการตกตะกอนของกรดยูริค หากมีอาการท้องเดิน หรือถ่ายเหลว ควรรีบไปปรึกษาแพทย์
- ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้ประสิทธิภาพการขับกรดยูริคออกจากร่างกายลดลง และทำให้ตับสร้างกรดยูริคมากขึ้น ทำให้การสะสมของกรดยูริคมากขึ้น
- งดอาหารพวกเครื่องในสัตว์ เพราะกรดยูริคเป็นส่วนหนึ่งของสารพิวรีน ที่พบมากในตับ ไต สมอง หัวใจ และ กระเพราะอาหารของสัตว์
แหล่งที่มาของ พิวรีน
เนื่องจากกรดยูริค จะได้จากการเผาพลาญสารพิวรีน ดังนั้น ในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่ผู้เป็นโรคเก๊าท์ไม่ควรรับประทานโดยเด็ดขาด ในระยะที่โรคกำเริบ และในระหว่างที่ไม่มีอาการปวด ก็ควรจะหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกัน
- ห้ามกินเด็ดขาด – หัวใจไก่ ตับไก่ กึ๋นไก่ เซ่งจี๊หมู ตับหมู ไต ตับอ่อน มันสมองวัว เนื้อ ไก่ เป็ด ห่าน ไข่ปลา ปลาดุก
0 Comments