line
16 ตุลาคม วันอาหารโลก

Written by admin

Oct 16, 2020

16/10/2020

16 ตุลาคม วันอาหารโลก

เนื่องในโอกาสวันอาหารโลก เรามาทำความรู้จักกับ “อาหารที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย” โดย “อ.สง่า ดามาพงษ์” ที่ปรึกษากรมอนามัย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านโภชนาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะมาช่วยเราไขคำตอบในเรื่องนี้

อ.สง่า อธิบายให้ฟังว่า อาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต อย่างไรก็ตามอาหารไม่ได้หมายถึงแค่ที่อยู่ในจานข้าวเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงทุกขั้นตอน ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ จนมาถึงผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับอาหารที่ปลอดภัย

1. ระดับต้นน้ำ ได้แก่ ฟาร์ม สวน ไร่ นา ผู้ผลิตเกษตรกรต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาฆ่าแมลง เพราะจะมีสารเคมีปนเปื้อนติดมากับอาหาร และควรเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบอินทรีย์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

2. ระดับกลางน้ำ ได้แก่ การแปรรูป จะเกี่ยวข้องกับผู้ค้าขายวัตถุดิบ กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหาร ที่นำวัตถุดิบมาปรุงเป็นอาหาร ซึ่งต้องใส่ใจดูแลเรื่องความสะอาดและปลอดภัย ก่อนขายให้กับผู้บริโภค

3. ระดับปลายน้ำ คือ การจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. ผู้ที่กินอาหารนอกบ้าน เพราะทำกับข้าวไม่เป็น หรือไม่สะดวกปรุงอาหารเอง จึงต้องออกไปซื้อกิน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารปนเปื้อนสูงกว่าคนที่ปรุงอาหารกินเอง เพราะไม่ได้เลือกหาวัตถุดิบมาทำเอง ดังนั้นผู้ที่ซื้ออาหารกินจะต้องพิถีพิถันในการเลือกร้านค้า โดยอาจจะเลือกร้านที่มีป้ายรับรองมาตรฐานความสะอาด จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ

2. ผู้ที่ปรุงอาหารกินเอง ซึ่งถือว่าโชคดีที่สุด เพราะสามารถควบคุมเรื่องความสะอาด ความสดใหม่ของอาหารได้เอง ดังนั้นวันอาหารโลก เราจึงมองอยู่ 2 เรื่องใหญ่ คือ 1. ต้องกินอาหารปลอดภัยปราศจากการปนเปื้อน 2.กินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ กินหลากหลาย ลดหวานมันเค็ม

อ.สง่า แนะนำการกินที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการแบบ “อิ่มทั้งอาหารและอิ่มสารอาหาร” ว่า ต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทุกมื้อทุกวัน ประกอบด้วย

หมู่ที่ 1 โปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว)

หมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน)

หมู่ที่ 3 เกลือแร่หรือแร่ธาตุ (พืชผัก)

หมู่ที่ 4 วิตามิน (ผลไม้)

หมู่ที่ 5 ไขมัน (ไขมันจากพืชและสัตว์)

ส่วนจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากินอาหารครบทั้ง 5 หมู่แล้ว ก็ให้ลองสำรวจตัวเองว่า ตอนกลางวันที่ผ่านมาเรากินอะไร เช่น ก๋วยเตี๋ยว 1 ชามกับส้ม 1 ผล แสดงว่าเราได้รับคาร์โบไฮเดรตจากเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ทำจากแป้ง ได้โปรตีนจากลูกชิ้นและหมูสับ ได้วิตามินแร่ธาตุจากผักและถั่วงอก ได้ไขมันจากกระเทียมเจียว ขณะที่ส้มให้วิตามิน ก็ครบ 5 หมู่แล้ว หรือราดหน้าหมูหมัก ถ้ากินคู่กับผลไม้ก็ครบ 5 หมู่ด้วยเช่นกัน

“ในทางตรงกันข้าม ถ้าเลือกกินกาแฟกับปาท่องโก๋ เราจะได้แค่ 2 หมู่คือ แป้งกับไขมัน ซึ่งจะทำให้เป็นโรคอ้วน เพราะขาดโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ ยิ่งถ้าให้เด็กกินแบบนี้ เด็กจะตัวเตี้ย เรียนหนังสือไม่เก่งและไอคิวต่ำ”

ขณะที่การกินไขมันอย่างพอเหมาะ ใน 1 วันควรจะกินไม่เกิน 6 ช้อนชา น้ำตาล ไม่เกิน 6 ช้อนชา เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา เรียกว่า สูตร 6 : 6 : 1 แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ากินน้ำมันเกิน 6 ช้อนชา อ.สง่า บอกวิธีสังเกตว่า ถ้าใน 1 วันอาหาร 3 มื้อ ไม่ได้กินอาหารประเภทผัดกับทอดน้ำมันมากเกินไป และเลือกกินแกงหรือต้มต่างๆ แทน หรือกินประเภทอบหรือนึ่ง กินน้ำพริกผักสด ผักสลัด ส้มตำ แบบนี้ 3 มื้อ เราได้น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชาแน่นอน

 แต่ถ้ากินไข่เจียวฟูๆ เมื่อไหร่ ข้าวขาหมู ผัดๆ ทอดๆ ทั้ง 3 มื้อเลย วันนั้นอาจจะได้น้ำมันมากกว่า 10 กว่าช้อนชา!! นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเรากินน้ำมันเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ส่วนการกินหวาน ถ้ากินกาแฟคาปูชิโน่ 1 แก้ว เราได้น้ำตาล 11 ช้อนชา ถ้ากินขนมเค้กชิ้นหนาๆ ก็ได้น้ำตาลไป 19 ช้อนชา กินน้ำอัดลม 1 ขวด ได้น้ำตาลไป 12 ช้อนชา ซึ่งเกิน 6 ช้อนชาตามที่กำหนด

เช่นเดียวกับความเค็ม ต้องมาดูอาหารว่ากินอะไรที่มีโซเดียมสูง เช่น ใส่น้ำปลาเยอะ ผักกาดดอง กินปลาเค็มบ่อยๆ อย่างนี้เสี่ยงที่จะได้รับปริมาณโซเดียมเกินแน่นอน ก็ต้องไปหาทางลดลง ส่วนอาหารที่เป็นเส้นใยควรจะกินให้มีผักทุกมื้อ และเลือกกินผลไม้เป็นอาหารว่าง ก็จะได้ใยอาหารเพียงพอแน่นอน ขณะที่อาหารก่อมะเร็งควรหลีกเลี่ยง เช่น อาหารทอด ใช้น้ำมันซ้ำ อาหารที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง เช่น เบคอน แฮม ต้องกินให้น้อยลง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

รู้อย่างนี้แล้วเราคงต้องกลับมาดูนิสัยการกินของตัวเองว่า ทุกวันนี้เรากินแบบ “ อิ่มอาหารแต่ไม่อิ่มสารอาหาร” กันหรือเปล่า และอาหารที่เรากินเข้าไปนั้นมีสารอาหารครบถ้วน ตามความต้องการของร่างกายหรือไม่ หรือจะลองทำตามสูตรเด็ดเคล็ดลับสุขภาพดีจาก สสส. ที่รับรองจะช่วยให้คุณสามารถเริ่มต้นชีวิตดีได้ด้วยตัวเอง

2 : 1 : 1 สูตรลับ พิชิตพุงห่างไกลโรค

สูตร 2:1:1 ทำได้ง่ายๆ แค่ประมาณด้วยสายตา โดยแบ่งสัดส่วนของจาน (เส้นผ่านศูนย์กลาง 9 นิ้ว) ออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน เพื่อใส่อาหารแต่ละประเภทลงไปในจาน คือ ผัก 2 ส่วน ข้าวหรือแป้ง 1 ส่วน และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 1 ส่วน เท่านี้เอง สำหรับใครที่กินอาหารนอกบ้านบ่อยๆ ให้สั่งแม่ค้าเสียงดังฟังชัดไปเลยว่า “ข้าวอย่าเยอะ และขอผักเพิ่มด้วยจ้า”

ปิดท้ายกันที่ สาระความรู้เท่าทันแบบไหนถึงเรียกว่า “อาหารไม่ปลอดภัย”

อาหารไม่ปลอดภัย คือ อาหารที่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะก่อผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ไม่เหมาะสมเด็ดขาดต่อการนำมารับประทาน ซึ่งประเภทอาหารที่พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ว่าเป็นอาหารไม่ปลอดภัยต้องมีการควบคุมเข้มงวด มีดังนี้

1) อาหารไม่บริสุทธิ์

1. อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย

2. อาหารที่มีสารหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ในอัตรา ที่อาจเป็นเหตุให้คุณภาพของอาหารนั้นลดลง เว้นแต่การเจือปนเป็นการจำเป็นต่อกรรมวิธีผลิต การผลิต และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว

3. อาหารที่ได้ผลิต บรรจุ หรือเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ

4. อาหารที่ผลิตจากสัตว์ที่เป็นโรคอันอาจติดต่อถึงคนได้

5. อาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบด้วย วัตถุที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ

2) อาหารปลอม

1. อาหารที่ได้สับเปลี่ยนใช้วัตถุอื่นแทนบางส่วน หรือคัดแยกวัตถุที่มีคุณค่าออกเสียทั้งหมดหรือบางส่วน และจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้น หรือใช้ชื่ออาหารแท้นั้น

2. วัตถุหรืออาหารที่ผลิตขึ้นเทียมอาหารอย่างหนึ่งอย่างใด และจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้น

3. อาหารที่ได้ผสมหรือปรุงแต่งด้วยวิธีใดๆ โดยประสงค์จะปกปิดซ่อนเร้นความชำรุดบกพร่อง หรือความด้อยคุณภาพของอาหารนั้น

4. อาหารที่มีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อ ให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะพิเศษอย่างอื่น หรือในเรื่องสถานที่และประเทศที่ผลิต

5. อาหารที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายระบุ ในระดับที่ผลวิเคราะห์ระบุว่า ส่วนประกอบที่เป็นคุณค่าทางอาหารขาดหรือเกินร้อยละสามสิบ จากเกณฑ์ต่ำสุดหรือสูงสุด หรือแตกต่างจากคุณภาพหรือมาตรฐานที่ระบุไว้จนทำให้เกิดโทษหรืออันตราย

3) อาหารผิดมาตรฐาน

1. อาหารที่ไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด แต่ก็ไม่ผิดมาตรฐานขนาดอาหารปลอมในข้อ 2.5

4) อาหารที่รัฐมนตรีกำหนด

1. ไม่ปลอดภัยในการบริโภค

2. มีสรรพคุณไม่เป็นที่เชื่อถือ

3. มีคุณค่าหรือคุณประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่ไม่เหมาะสม

การรู้จักเลือกกินอาหารให้ถูกเพื่อสุขภาพที่ดี นับเป็นสิ่งสำคัญ สสส.หวังเห็นทุกคนแข็งแรง เพียงแค่ปฏิบัติตามหลัก “3 อ. 2 ส.” ได้แก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ไม่ดื่มสุรา และไม่สูบบุหรี่ เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ห่างไกลจากโรคต่างๆ ได้มากขึ้นแล้ว

แหล่งข้อมูล ส.ส.ส.

สั่งซื้อเจลพลัสด้วยวิธีง่ายๆ

ติดต่อ คุณดรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสารอาหารบำบัดแบบเจล มากว่า 10 ปี

Line ID: @umigout
(ใส่ "@" ด้วยเสมอ)
กดเพิ่มเพื่อน > กดเพิ่มเพื่อน อูมิเก๊าท์

อูมิ UMI ลดกรดยูริค เก๊าท์ เบาหวาน ต้านเนื้อร้าย ลดอักเสบ เพิ่มภุมิคุ้มกัน
กรีน GRN ล้างพิษ ดีท๊อกซ์ ลดกรดยูริค ช่วยระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย

Related Articles

5 ค่าฮีมาโตคริต

https://youtube.com/shorts/cUZlpVaUgDI 5 ค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit) - 7 ค่าเลือดสำคัญผู้ป่วยไตต้องรู้ #ผลเลือด #ค่าไต #โรคไตเสื่อม #โรคไตเรื้อรัง #รักสุขภาพ #รักสุขภาพรักตัวเอง #ดูแลสุขภาพ #สาระน่ารู้ดูแลสุขภาพ #youngsiamtv #ยังสยาม #ยังสยามทีวี ศึกษาเพิ่มเติมคลิ๊ก...

3 ค่าครีเอตินิน

https://youtu.be/cRSxG_84QBU 3 ค่าครีเอตินิน (CR - Creatinine) 7 ค่าเลือดสำคัญผู้ป่วยไตต้องรู้ #ผลเลือด #ค่าไต #โรคไตเสื่อม #โรคไตเรื้อรัง #รักสุขภาพ #รักสุขภาพรักตัวเอง #ดูแลสุขภาพ #สาระน่ารู้ดูแลสุขภาพ #youngsiamtv #ยังสยาม #ยังสยามทีวี 3.ค่า Creatinine บอกอะไรเรา...

3 ค่าครีเอตินิน

https://youtu.be/cRSxG_84QBU 3 ค่าครีเอตินิน (CR - Creatinine) 7 ค่าเลือดสำคัญผู้ป่วยไตต้องรู้ #ผลเลือด #ค่าไต #โรคไตเสื่อม #โรคไตเรื้อรัง #รักสุขภาพ #รักสุขภาพรักตัวเอง #ดูแลสุขภาพ #สาระน่ารู้ดูแลสุขภาพ #youngsiamtv #ยังสยาม #ยังสยามทีวี 3.ค่า Creatinine บอกอะไรเรา...

0 Comments

0 Comments