line
เก๊าท์ เก๊า เกาต์ GOUT สาเหตุ อาการ ปัจจัยเสี่ยง

Written by admin

Jul 17, 2020

17/07/2020

ภาพรวม

เก๊าท์เป็นรูปแบบธรรมดาและซับซ้อนของโรคข้อที่เกิดขึ้นกับทุกคนได้ เราสามารถบ่งบอกถึงลักษณะของมันได้ด้วยการ อาการที่เกิดขึ้นฉับพลันทันใด การถูกโจมตีด้วยอาการปวดรุนแรง, อาการบวม, อาการแดงแข้งกดเจ็บ ในข้อต่อ โดยมักจะเป็นข้อที่หัวแม่เท้า

การเกิดอาการที่เรียกว่าการโจมตีในแต่ละครั้งของเก๊าท์สามารถเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันใด มักจะทำให้คุณตื่นขึ้นในตอนกลางดึกด้วยการกระตุ้นความรู้สึกที่หัวแม่เท้ากำลังลุกเป็นไฟ ข้อที่มีอาการจะรู้สึกร้อน บวม และอ่อนไหวมากแม้เพียงน้ำหนักของผ้าห่มมาอยู่บนข้ออาจทำให้แถมทนความเจ็บปวดไม่ไหว

อาการ (Symptoms) 

สัญญาณและอาการของเก๊าท์มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันใด และมักจะเป็นในยามค่ำคืน อันได้แก่

  • ปวดข้อรุนแรง โดยปกติเก๊าท์จะส่งผลที่ข้อใหญ่ของหัวแม่เท้า แค่มันสามารถเกิดขึ้นที่ข้อใดก็ได้ในร่างกาย ข้ออื่นที่มักได้รับผลกกระทบนั้นรวมไปถึง ข้อเท้า หัวเข่า ข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือ อาการปวดมักจะรุนแรงที่สุดภายใน 4 – 12 ชั่วโมงแรกหลักจากเริ่มมีอาการ
  • ไม่สบายเนื้อตัวแบบยืดเยื้อ หลักจากอาการปวดรุนแรงบรรเทาเบาบางลง ข้อบางข้ออาจจะยังคงรู้สึกไม่สบายเหมือนปกติไปอีกประมาณ 2-3 วัน หรือถึง 2-3 สัปดาห์ การโจมตีภายหลังมีแนวโน้มจะคงความเจ็บปวดนานขึ้นและกระทบต่อจำนวนข้อมากขึ้นด้วย
  • อาการอักเสบปวมแดง ข้อที่ได้รับผลกระทบจะมีลักษณะ บวม ไวต่อความเจ็บปวด อุ่น และมีสีแดง
  • เคลื่อนไหวได้จำกัด เมื่อเก๊าท์พัฒนาต่อไป คุณอาจไม่สามารถเคลื่อนไวบริเวณข้อได้อย่างเป็นปกติเพราะความปวดอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ไหนได้มากนัก

หาหมอเมื่อไหร่

เมื่อคุณประสบกับอาการปวดข้ออย่างรุนแรงแบบฉับพลันทันใด โทรหาหมอหรือรีบไปโรงพยาบาล เก๊าท์ที่ไม่ได้รีบดูแลรักษา จะนำไปสู่อาการที่แย่ลงทำให้ปวดมากขึ้นอีกและสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อบริเวณนั้นได้

ดูแลเรื่องการรับประทานยาโดยเร็ว ถ้าคุณมีอาการไข้ และรู้สึกร้อนบริเวณข้อที่มีอาการอักเสบ เพราะอาจจะเป็นสัญญาณของอาการติดเชื้อได้

สาเหตุ (Causes)

เก๊าท์เกิดขึ้นเมื่อผลึกยูเรต (Urate Crystals) เกิดการสะสมในข้อต่อ เป็นสาเหตุของการอักเสบและอาการปวดรุนแรงที่เรียกว่าการโจมตีของเก๊าท์ (Gout Attack) ผลึกยูเรตสามารถก่อตัวขึ้นเมื่อเลือดของคุณคุณมีกรดยูริกอยู่ในระดับที่สูง

ร่างกายของคุณผลิตกรดยูริกเมื่อมีการย่อยสลายสารอาหารที่เรียกว่า พิวรีน เป็นสารที่พบตามธรรมชาติปกติในร่างกายของคุณ

พิวรีนพบได้ในอาหารบางอย่าง เช่น สเต็ก เนื้อสัตว์ต่าง ๆ และอาหารทะเล อาหารประเภทอื่นที่ส่งเสริมให้กรดยูริกอยู่ในระดับสูง เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล โดยเฉพาะเบียร์ และเครื่องดื่มที่ทำให้หวานด้วยน้ำตาลผลไม้ (ฟรุกโตส)

โดยปกติแล้ว กรดยูริกในเลือดจางหายไปผ่านทางไตของคุณในรูปของปัสสาวะ แต่บางครั้งร่างกายของคุณผลิดกรดยูริกมากเกินไป หรือไตของคุณขับกรดยูริกออกได้น้อยเกินไป เมื่อสิ่งนี้เกินขึ้น กรดยูริกสามารถเพิ่มขึ้น ก่อตัวขึ้นเป็นผลึกยูเรตที่มีรูปร่างคล้ายเข็มในข้อของคุณหรือบริเวณเนื้อเยื้อโดยรอบซึ่งเป็นสามารถของอาการปวด อักเสบ และบวมขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง (Rick factors)

คุณจะมีแนวโน้มที่พัฒนาไปสู่การเป็นโรคเก็าท์ได้ ถ้าร่างกายของคุณมีกรดยูริกในระดับสูง  ปัจจัยที่ส่งเสริมเพิ่มระดับกรดยูริคในร่างกายของคุณ ประกอบด้วย:

  • อาหาร การทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และดื่มเครื่องดื่มที่หวานด้วยน้ำตาบผลไม้ (ฟรุกโตส) เป็นการเพิ่มระดับกรดยูริก ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเก๊าท์ การดื่มแอลกอฮอล โดยเฉพาะเบียร์ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเก๊าท์เช่นเดียวกัน
  • การมีน้ำหนักเกิน  ถ้าคุณเป็นผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไป ร่างกายของคุณจะสร้างกรดยูริกมากขึ้นและ ไตของคุณจะมีความยากลำบากในการกำจัดกรดยูริกออกจากร่างกาย
  • เงื่อนไขทางการแพทย์  โรคบางชนิดและอาการเจ็บป่วยบางประเภทเพิ่มความเสี่ยงให้กับการเป็นเก๊าท์ ซึ่งรวมไปถึง ความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการดูแล และสภาพอาการเรื้อรังของโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน โรคที่เกิดจากความผิดปกติในการเผาพลาญอาหาร (Metabolic syndrome) โรคหัวใจ และโรคไต เป็นต้น
  • การรักษาพยาบาล การใช้ยาบางประเภท    การใช้ยา ไทอาซีน ไดยูเรติก (thiazide diuretics) ซึ่งโยทั่วไปจะถูกใช้ในการบำบัดโรคความดันโลหิตสูง การรับยาแอสไพริน ในระดับต่ำสามารถเพิ่มระดับกรดยูริกได้  รวมไปถึงการใช้ยาต้านการปฏิเสธอวัยวะที่แพทย์จ่ายให้สำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
  • ประวัติการเป็นเก๊าท์ในครอบครับ ถ้าคุณมีสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ ที่เคยเป็นเก๊าท์ มาก่อน คุณจะค่อนข้างมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นโรคเก๊าท์ได้เช่นกัน
  • อายุและเพศ  เก๊าท์เกิดขึ้นบ่อยกว่าในเพศชาย  เพราะว่าเพศหญิงมักจะมีระดับกรดยูริกต่ำกว่า อย่างไรก็ตามในช่วงหลังการมีประจำเดือนระดับกรดยูริกของคุณสุภาพสตรีสามารถขึ้นไปถึงระดับเดียวกับคุณผู้ชายได้ สุภาพบุรุษค่อยข้างมีการพัฒนาไปสู่การเป็นเก๊าท์ก่อนและเร็วกว่าคุณสุภาพสตรี โดยทั่วไปมักจะเป็นกันตั้งแต่อายุประมาณ 30 ถึง 50 ส่วนคุณสุภาพสตรีโดยทั่วไปจะมีสัญญาณการพัฒนาไปสู่การเป็นเก๊าท์ได้หรือเกิดมีอาการขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน
  • การผ่าตัด หรือ อาการบาดเจ็บ ครั้งหลังสุด  ได้ประสบกับการผ่าตัดหรือมีอาการบาดเจ็บเมื่อไม่นานมานี้ มีส่วนร่วมในการเพิ่มความเสี่ยงของการพัฒนาไปสู่การถูกเก็าท์โจมตีได้

อาการแทรกซ้อน (Complications)

ผู้ที่มีอาการโรคเก๊าท์ สามารถพัฒนาไปสู่อาการที่รุนแรงมากขึ้น ตัวอย่างเช่น:

  • เก๊าท์กลับมาอีก บางคนอาจไม่เคยพบกับสัญญาณหรืออาการกลับมาอีก แต่คนอื่น ๆ อาจพบว่ามีอาการกลับมาอีกหลายครั้งในแต่ละปี การใช้เวชภัณฑ์อาจช่วยป้องกันการโจมตีของเก๊าท์ในผู้ที่มีอาการเก๊าท์กลัยมาอีก ถ้าปล่อยไว้โดยไม่มีการเยียวยา เก๊าท์อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการกัดกร่อนและผิดรูปร่างของข้อต่อได้
  • เก๊าท์รุนแรงมากขึ้น เก๊าท์ที่ไม่มีการดูแลอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการสะสมของผลึกยูเรตก่อตัวขึ้นภายใต้ผิวหนัง เป็นปุ่มขนาดเล็กเรียกว่า โทฟี่ (TOPHI) โทฟี่สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด เช่น นิ้วมือ มือ เท้า ข้อศอก หรือเอ็ดร้อยหวายบริเวณส่วนหลังของข้อเท้า โดยปกติแล้วโทฟี่จะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด แต่ทำให้เกิดอาการ บวม และ อ่อนไหว (เวลาสัมผัสแล้วเจ็บ) ระหว่างการโจมตีของเก๊าท์หรือการกำเริบของอาการ
  • นิ่วในไต ผลึกยูเรตอาจเกิดการสะสมในท่อปัสสาวะของคนที่เห็นเก๊าท์ ทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วในไต และอาจต้องทำการรักษาโดยใช้ยาเพื่่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดนิ่วในไตได้ด้วย

การป้องกัน (Prevention)

ระหว่างห่วงเวลาที่ปราศจากอาการ, แนวทางด้านโภชนาการเหล่านี้อาจช่วยป้องกันต่อการโจมตีของเก๊าท์ในอนาคตได้:

  • ดื่มน้ำให้มาก. พยายามให้ร่างกายมีน้ำอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำมากขึ้น จำกัดการดื่มเครื่องดื่มปรุงรสหวานที่คุณดื่ม โดยเฉพาะพวกที่เพิ่มความหวานด้วยน้ำเชื่อมจากน้ำตาลข้าวโพดในปริมาณมาก
  • จำกัดหรือหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล. ถ้าต้องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล ควรดื่มในปริมาณน้อย และไม่ควรดื่มทุกวัน จากหลักฐานงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้แนะนำว่า  โดนเฉพาะเบียร์ มีแนวโน้มในการเพิ่มความเสี่ยงของอาการเก๊าท์ โดยเฉพาะในเพศชาย
  • รับประทานโปรตีนจากผลิตภัณฑ์ไขมันต่ำ. อาหารไขมันต่ำในความเป็นจริงแล้วอาจส่งผลในการป้องกันต่อการเป็นเก๊าท์ได้, ดังนั้นนี้คือแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ
  • จำกัดการทานเนื้อสัตว์, เนื้อปลา และเนื้อหมู. การทานในปริมาณแต่น้อยอาจจะพอทำได้, แต่ต้องคอยสังเกตอย่างใกล้ชิดว่าเนื้อประเภทไหนที่ทานได้ และปริมาณเท่าไหร่ที่จะเริ่มสร้างปัญหาให้กับคุณ
  • ดูแลน้ำหนักตัว. เลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคุณที่ทำให้คุณสามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีสุขภาพดี การลดน้ำหนักอาจลดระดับกรดยูริคในร่างกายของคุณ แต่ให้หลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เพราะการทำเช่นนั้นอาจเพิ่มระดับกรดยูริคแบบชั่วคราวได้

    ขอบคุณข้อมูลจาก www.mayoclinic.org

      สั่งซื้อเจลพลัสด้วยวิธีง่ายๆ

      ติดต่อ คุณดรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสารอาหารบำบัดแบบเจล มากว่า 10 ปี

      Line ID: @umigout
      (ใส่ "@" ด้วยเสมอ)
      กดเพิ่มเพื่อน > กดเพิ่มเพื่อน อูมิเก๊าท์

      อูมิ UMI ลดกรดยูริค เก๊าท์ เบาหวาน ต้านเนื้อร้าย ลดอักเสบ เพิ่มภุมิคุ้มกัน
      กรีน GRN ล้างพิษ ดีท๊อกซ์ ลดกรดยูริค ช่วยระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย

      Related Articles

      5 ค่าฮีมาโตคริต

      https://youtube.com/shorts/cUZlpVaUgDI 5 ค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit) - 7 ค่าเลือดสำคัญผู้ป่วยไตต้องรู้ #ผลเลือด #ค่าไต #โรคไตเสื่อม #โรคไตเรื้อรัง #รักสุขภาพ #รักสุขภาพรักตัวเอง #ดูแลสุขภาพ #สาระน่ารู้ดูแลสุขภาพ #youngsiamtv #ยังสยาม #ยังสยามทีวี ศึกษาเพิ่มเติมคลิ๊ก...

      3 ค่าครีเอตินิน

      https://youtu.be/cRSxG_84QBU 3 ค่าครีเอตินิน (CR - Creatinine) 7 ค่าเลือดสำคัญผู้ป่วยไตต้องรู้ #ผลเลือด #ค่าไต #โรคไตเสื่อม #โรคไตเรื้อรัง #รักสุขภาพ #รักสุขภาพรักตัวเอง #ดูแลสุขภาพ #สาระน่ารู้ดูแลสุขภาพ #youngsiamtv #ยังสยาม #ยังสยามทีวี 3.ค่า Creatinine บอกอะไรเรา...

      3 ค่าครีเอตินิน

      https://youtu.be/cRSxG_84QBU 3 ค่าครีเอตินิน (CR - Creatinine) 7 ค่าเลือดสำคัญผู้ป่วยไตต้องรู้ #ผลเลือด #ค่าไต #โรคไตเสื่อม #โรคไตเรื้อรัง #รักสุขภาพ #รักสุขภาพรักตัวเอง #ดูแลสุขภาพ #สาระน่ารู้ดูแลสุขภาพ #youngsiamtv #ยังสยาม #ยังสยามทีวี 3.ค่า Creatinine บอกอะไรเรา...

      0 Comments

      0 Comments

      Submit a Comment

      Your email address will not be published. Required fields are marked *